Sunday, October 16, 2016

รวม เทคนิคการใช้ โปรแกรม ARCHICAD BIM ฉบับ 2016#1

รวบรวม เทคนิคการใช้ โปรแกรม ARCHICAD BIM ฉบับ 2016#1 ครอบคลุม เวอร์ชัน 17 18 19 

คลิกเพื่ออ่าน ebook

Link : https://www.scribd.com/document/327827898/E-book-Thai-ArchiCAD-Tips-Tricks-2016-1

note สามารถ ดาวน์โหลด ได้ ต้องสมัครสมาชิก  www.scribd.com

Friday, September 30, 2016

ARCHICAD 20 (Basic) : เริ่มสร้าง

ก่อนเริ่ม  ให้เลือกไปทำงานที่ ชั้น Ground Floor  โดยดับเบิ้ลคลิก ตามรูป


ก่อนเริ่ม  ให้เลือกไปทำงานที่ ชั้น Ground Floor  โดยดับเบิ้ลคลิก ตามรูป



เลือกแบบ ผนัง ตามรูป


ผนังนี้ คือ Brick Single Plastered  ซึ่ง กว้าง 0.11 ม.  ความสูง  ลิ้งค์กับ ความสูงของชั้น อาคาร ในช่อง  Wall Top   หากเลือกดู แล้วกำหนดเป็น not linked  จะสามารถกำหนด ความสูงของ ผนังเองได้
แล้วกด  OK


เมื่อได้ผนังชนิดที่ต้องการแล้ว สามารถเริ่ม คลิกกำหนดจุด เริ่มต้น ได้  แต่ให้ตั้ง ค่า วิธีวาด โดยคลิกตามรูป  โดยกดค้างที่ปุ่ม แล้ว เลื่อนไป เลือก การเขียนผนังแบบ ต่อเนื่อง


เริ่มวาดผนัง  โดยคลิกกำหนด จุดเริ่มต้น แล้ว คลิก จุด ต่อไป ตามกริด    โดยวนขวา 
  

ซึ่งแนววาด ผนัง จะเป็น ด้านใน ของผนัง   หาก ต้องการ เปลี่ยน แนววาด  ให้เป็น ด้านนอก หรือ กลางผนัง ให้ คลิกที่  รูป ก่อนวาด  หรือหลังวาด (ถ้าหลังวาด ต้อง คลิกเลือก ผนังที่วาดไปแล้ว ก่อนให้ เป็น สีเขียว)
***  การออกจากคำสั่ง ที่ทำอยู่   หรือ ยกเลิกการเลือก วัตถุ     ให้กด ปุ่ม ESC

Wednesday, September 28, 2016

ARCHICAD 20 (Basic) : การตั้ง หน่วยใช้งาน และ กริด

ก่อนเริ่มทำงาน  เราควรจะตั้งค่า ต่าง ๆ  ที่จำเป็นในการทำงาน ได้แก่  การแสดงกริด,  การตั้ง snap, หน่วยที่ใช้งานและทศนิยม


การตั้งหน่วยใช้งาน -  คลิก ไปที่ เมนู ตามรูป


จะแสดงหน้าต่าง ตั้งค่าหน่วย  -     ตั้งค่าให้เป็นเมตร ดังรูป


การตั้งค่าแสดง กริด  -  คลิก ไปที่ เมนู ตามรูป

การตั้งระยะกริด-  คลิก ไปที่ เมนู ตามรูป   จะเกิดหน้าต่าง ตั้งค่า กริด


ตั้งค่าตามนี้ แสดงห่างกัน 1 เมตร แล้วกด OK



----



การตั้ง snap   -  คลิก ไปที่ เมนู ตามรูป
ในกรอบแดง  ที่เป็นสีฟ้า คือ ใช้งาน อยู่ เช่น
ตอนนี้ กำลังใช้ snap เข้า element วัตถุ  และ
สามารถ snap เข้า grid   และ surface ได้
ไม่อยากใช้ อันไหน ก็กด ไปที่ตัวนั้น เพื่อ
ใช้หรือยกเลิก กลับไปกลับมา



Monday, September 26, 2016

ARCHICAD 20 (Basic) : Navigator & Mouse

กรอบ เนวิเกเตอร์  Navigator

ในกรอบนี้ จะเป็น เหมือน ศูนย์ควบคุมการทำงาน  จะมีส่วนต่างๆ คือ


ใช้เลือก ทำโครงการต่าง ๆ และ เปิดหน้าต่าง การจัดการ drawing




 ส่วนนี้ใช้งาน เป็นหลัก ในขั้นตอน สร้างโมเดล เพราะ ชั้นงานต่าง ๆ 
รูปด้าน รูปตัด BOQ  อยู่ในนี้
 ส่วนนี้ใช้ จัดการแสดงผล  ของงานเป็นส่วน ๆ  เช่น  แสดงผลเฉพาะ โครงสร้าง,  แสดงผลเฉพาะงานระบบ, แสดงผลเฉพาะหลังคา  ซึ่งจะต้องใช้การรวมเลเยอร์ ที่ต้องการแสดงด้วยกันมาไว้ด้วยกัน โดยใช้ Layer combination


 ส่วนของการจัดหน้ากระดาษต่าง ๆ ในชุดแบบ
 ส่วนของการจัดพิมพ์แบบ  สามารถพิม์เป็นไฟล์ pdf หรือ dwg ได้

ในหน้าจอ เริ่มต้น จะว่าง ๆ แล้ว มี เส้น สี่เส้น  นั่นคือ   เส้น ที่สร้างรูปด้าน สี่ด้าน โดยอัตโนมัติ  เมื่อ สร้างโมเดล ขึ้นมา  รูปด้านก็จะแสดงขึ้นมา ได้เลย โดยไปคลิกที่ 




การใช้ เม้าส์
ปุ่มซ้าย
คลิกเดียว – เลือกเมนู เลือกวัตถุ เลือกออพชั่นต่าง ๆ
ดับเบิ้ลคลิก – เลือกไปทำงานส่วนต่าง ๆ  ใน กรอบ Navigator

ลูกกลิ้งกลาง –  หมุนออก  ซูมเข้าใกล้   ,  หมุนเข้า ซูมออกไกล

ปุ่มขวา  - คลิกเลือก เพื่อเรียวตัวช่วยต่าง  ๆ  และ  เมนู คำสั่ง ที่สามารถ ทำได้กับสิ่งที่เลือก





Saturday, September 24, 2016

ระบบ วัสดุใน ARCHICAD

ระบบ วัสดุใน ARCHICAD

            ใน ARCHICAD 20  ถ้าพูดถึง วัสดุ จะมี สิ่งที่เกี่ยวข้อง อยู่   ได้แก่
  • -          Fill Type คือ ลวดลาย 2 มิติ
  • -          Surface คือ สีสันจริงของวัสดุ
  • -          Building Material คือ วัสดุในการก่อสร้าง 1 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย   FILL และ  SURFACE เช่น คอนกรีต จะแสดงผล 2 มิติด้วย FILL และ แสดงผลตอนเรนเดอร์ ด้วย SURFACE
  • -          Composite Structure   คือ  การประกอบ ของ Building Material มากกว่า 1 ชนิด ที่ใช้กับส่วนประกอบอาคาร เช่น  ผนังที่มีหลายชั้น อย่าง ผนังก่ออิฐฉาบปูนและมีชั้นโฟมกันความร้อน  หรือ อย่างพื้นคอนกรีตปูแกรนิต  เป็นต้น


ซึ่งจะอยู่ในหมวด เมนู Element Attributes   ดังรูป


ภาพนี้ แสดง โครงสร้าง ของ ระบบ วัสดุใน ARCHICAD   โดย  FILL และ  SURFACE  จะเป็นที่มี ของ วัสดุอาคาร(Building Material) แต่ละชนิด ซึ่ง แต่ละ วัสดุอาคาร(Building Material)  สามารถไปประกอบเป็น  Composite Structure   ได้ เช่น  Composited Wall

 โดยรายละเอียด ของแต่ละ องค์ประกอบมีดังนี้
FILL TYPE  คือ ลวดลาย ในการระบายลงในพื้นที่ ในแบบแปลน เพื่อบ่งบอกว่า เป็นวัสดุประเภทใด เพื่อแยกแยะ ให้อ่านแบบ ได้สะดวก    เหมือนกับคำว่า Hatch  ในระบบเขียนแบบ 2 มิติ    FILL ใน ARCHICAD สามารถ สร้างเพิ่มเติม หรือ ดัดแปลง จากของเก่าได้   โดยเลือกจาก เมนู  ดังรูป


จะเกิดหน้าต่าง การสร้าง และ ปรับแก้ ลวดลายต่าง ๆ ตามที่ต้องการ




SURFACE  คือ  สีสัน ของวัสดุ จริง ที่จเป็นส่วนประกอบของวัสดุอาคาร (Building Material)  โดยสามารถ ใส่รูป สีสันจริง อย่าง ลายไม่ ลายแกรนิต ลายหินอ่อน   เพื่อ ใช้ในการเรนเดอร์ ให้ ได้ภาพ ที่สมจริง โดยเลือกจาก เมนู  ดังรูป




Building Material คือ วัสดุในการก่อสร้าง 1 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย   FILL และ  SURFACE เช่น คอนกรีต จะแสดงผล 2 มิติด้วย FILL และ แสดงผลตอนเรนเดอร์ ด้วย SURFACE    โดย วัสดุ นี้
เสมือนเป็น วัสดุพื้นฐาน ในงานก่อสร้าง  เช่น  อิฐ  คอนกรีต  อลูมีเนียม  กระจก   ยิปชัม





Thursday, September 22, 2016

ARCHICAD 20 (Basic) : เริ่มใช้งาน

เมื่อรันโปรแกรม ขึ้นมา


ถ้าไม่มี  ฮาร์ดล็อคแท้ เสียบ อยู่ จะขึ้น แบบ นี้  จะกลายเป็น demo mode  เซฟไฟล์ไม่ได้  แต่ถ้า ไปขอ ซีเรียลของ  Education ในแบบ  student หรือ  teacher มา  จาก www.myarchicad.com   ให้กดไปที่  Education license   แล้วใส่ อีเมล์ และ ซีเรียลที่มี ตามภาพ ก็ จะเล่นได้


ต่อไป จะเจอหน้า Start     ถ้าสร้างงานใหม่  ก็เลือก Create New…      ถ้าเปิดงานเก่า ก็เลือก Open… .ในส่วน Project setting    เลือกว่าจะใช้เทมเพลท (นามสกุล tpl)   ตัวไหน โดยมี ตัวที่มากับโปรแกรม  หรือ  เลือก browse หาตัวที่ เคยใช้ จาก เวอร์ชันเก่าก็ได้


เทมเพลท คือไฟล์ที่เก็บ การตั้งค่า ต่าง ๆ  เช่น หน่วยที่ใช้  จำนวนทศนิยม   สีของจอภาพ   โมเดล ออบเจคที่ทำเก็บไว้  มากมาย   ไม่ต้องสงสัยว่า ทำไม ไฟล์เทมเพลทบางทีมีขนาดใหญ่

หน้าจอ ARCHICAD เวอร์ชัน 20  จะแตกต่าง จาก ของเก่า คือจะดู เรียบ ๆ โดย จะมี ส่วนต่าง ๆ ดังนี้


จอแสดง งาน คือส่วนตรงกลาง ชึ่งจะแสดงเป็น 2 มิติ 3 มิติ  แล้วแต่ จะเลือกทำงานในหน้าไหน
เมนูบน เป็นแบบ คลิกเปิดเป็นแถวลงมา
-File  ใช้จัดการกับไฟล์ ต่างๆ ทั้งงาน และที่นำเข้ามาใช้ รวมถึง ไลบรารี  ที่ ARCHICAD เรียกว่า GDL
-Edit  คือหมวดการแก้ไข  /   -View ใช้กำหนดมุมมองต่าง
-Design หมวดเครื่องมือต่าง ๆใช้ในการทำงาน  /  -Option  คือการตั้งค่า ต่าง ๆ มากมาย
-Windows  เลือกว่าจะแสดง ส่วนใด ๆ ของโปรแกรมบ้าง   แถบเครื่องมือต่าง ๆ
-Help  เก็บข้อมูลช่วยเหลือ ได้แก่ ไฟล์ pdf  ,  ข้อมูลไลเซนที่ใช้งาน

เมนูด้านข้างซ้าย   เป็นแถบเครื่องมือ คำสั่งในการทำงาน แบ่งเป็นหมวด
-Design คำสั่งในการสร้าง โมเดล 3 มิติ
-Document  คำสั่งในการเขียนเส้น สัญลักษณ์  2 มิติ และ ส่วนเพิ่มเติม
-More  คำสั่ง เสริม อื่น ๆ


















แถบเมนู ด้านบน

แถบ ออฟชั่น  ของคำสั่ง  และข้อมูล ของออบเจค   จะเปลี่ยนไป ตามคำสั่ง และ ออบเจคที่เลือก



แทป เพื่อเลือก ไปทำงานหน้าต่าง ๆ ได้แก่ 2D  3D   รูปด้าน   …..

Monday, September 19, 2016

การติดตั้ง ARCHICAD 20


ARCHICAD เป็นโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์  เพื่อการออกแบบ ทำแบบ อาคาร งาน สถาปัตย์ ภายนอก ภายใน ที่เป็นเทคโนโลยี BIM Building Informaion Modeling      ARCHICAD ได้รับการพัฒนา จากบริษัท กราฟฟิซอฟต์ Graphisoft ประเทศ เยอรมันนี  มากว่า 30 ปีแล้ว (www.graphisoft.com)
การติดตั้ง

            เมื่อได้แผ่น CD ติดตั้งมา  ใส่แผ่นเข้าไป โปรแกรมติดตั้งจะรันขึ้นมา  
 ให้เลือก  Install GRAPHISOFT ARCHICAD


ก็กด Next   Next  Accept  





จนกว่าจะ copy เสร๊จ ครับ แล้ว  จะ  Finish แล้วก็ รีบูท  ก็จะเริ่มใช้ได้


Monday, May 23, 2016

ARCHICAD 20 มาแล้ว BIM FRESH LOOK

ได้เวลาที่ ARCHICAD จะต้อง ปรับรุ่น เป็นเวอร์ชันใหม่    คือ ARCHICAD  20  ซึ่งทางเวบ Graphisoft เจ้าของ โปรดัก ได้ออกข่าวเป็นที่เรียบร้อย ว่า เวอร์ชันใหม่ มีอะไรเด่น ๆ บ้าง

เวอร์ชัน นี้ ใช้ สโลแกนว่า   FRESH LOOK at BIM   ประมาณว่า โฉมใหม่ สดใส กว่าเดิม





4  อย่าง หลัก ที่มีการปรับเปลี่ยน

  1.  เน้นที่ I  คือ Information  ซึ่งสามารถนำเข้าข้อมูล มาลิงค์กับ GDL ได้จาก EXCEL  เพื่อประยุกต์ในการแสดง ผล และ การบริหารจัดการ ทรัพย์สินได้
  2. ปรับ หน้าต่าง FAVORITES ให้แสดงผล แบบ Thumbnail  และจัดหมวดหมู่ได้
  3. ปรับปรุงการทำ CG ให้สวยงามมากขึ้น และ แสดงผลแบบ perspective แบบ 2 จุดแนวตั้ง
  4. ปรับ ไอคอน และ อินเตอเฟสโดยรวม ให้ เรียบง่าย ขึ้น ตาม เทรนด์

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.graphisoft.com/archicad/