Monday, August 3, 2015
รวม ดาวน์โหลด คู่มือ ARCHICAD
ตามลิงค์ นี้เลยครับ
แก้ไข
http://www.applicadthai.com/archicad/workshop-book/
ARCHICAD 19 เร็วที่สุด เท่าที่เคยมีมา
พัฒนาการแสดงผลเร็วกว่าเดิมแบบ OpenGL
รองรับการทำงานกับ Pointcloud (จุดพิกัด 3 มิติ ที่ได้จากเครื่อง แสกนเนอร์ 3 มิติ)
Background processing
ArchiCAD 19 มีความสามารถ เข้าใจกระบวนการทำงานของผู้ใช้งาน โดยจะทำการอัพเดท สิ่งที่จะต้องทำในอนาคตไว้ล่วงหน้า ทำให้สามารถแสดงผลได้ทันที เมื่อผู้ใช้งาน เรียกดู โดยไม่ต้องรอเหมือนแต่ก่อน
GRAPHISOFT 30 ปี
จาก VDO ด้านล่าง ได้เล่าถึง พัฒนาการ ของ ARCHICAD ที่มีผู้ใช้งาน ทั่วโลก ใช้ทำงานออกแบบอาคาร มาอย่างต่อเนื่อง ตลอด 30 ปี ทั้งบน เครื่อง Mac และ PC ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับ ในหมู่ สถาปนิกและวิศวกร
Tuesday, February 3, 2015
วีดีโอ แนะนำ
ลองดู วีดีโอ นี้เพื่อ สร้างความ เข้าใจหลักการทำงาน ของ BIM ARCHICAD ครับ
ผู้ให้บริการในประเทศไทย
ออกแบบอาคาร ด้วย ARCHICAD BIM
- เขียนแบบ ก็สามารถใช้ AutoCAD, GstarCAD, NuvoCAD กันได้
- ออกแบบ สามมิติ ก็ใช้ Sketchup ซะส่วนใหญ่ เพราะใช้ง่าย แต่ไม่ฟรีนะ ตัวโปร ส่วน make ตัวฟรีเขาให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
- บางคนใช้ BIM แล้ว มันคือ Building Information Modeling ประมาณว่า ขึ้น โมเดลให้ครบ ถ้วนแล้ว ได้แบบ ได้ปริมาณกันเลย ทำให้ทำงานได้ไวไว มาม่า กันเลย
บล็อกนี้ ที่เขียนมาเพื่อเป็นความรู้ กับผู้ที่สนใจ ใช้ BIM เพื่อการออกแบบ โดยเฉพาะ ARCHICAD นะครับ คงจะไม่มีข้อมูลของ ตัวอื่น ๆ ที่ ทำงานเหมือนกัน
เริ่มเรื่องกันที ประวัติของ ARCHICAD กันซักเล็กน้อย โปรแกรม ตัวนี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นมา ตั้งกะปี 198x กว่า ๆ ล่าสุด เพิ่งฉลองครบ 30 ปี โปรแกรม ตัวนี้ เกิดมาก็เป็น 3D เลย ด้วยหลักการ Virtual Building คือ ออกแบบให้เป็น 3 มิติ ไปเลย แล้ว โปรแกรมจะช่วยทำแบบ ให้ โดยอัตโนมัติ แต่ก็ต้องเขียนรายละเอียดเพิ่มด้วย แต่อย่างน้อย แบบ เบื้องต้นก็ไม่ต้องเขียนมาก และ มีความถูกต้องด้วย ภายหลัง มีบัญญิติ หลักการทำงานแบบนี้ โดยใช้คำว่า BIM
โปรแกรมนี้ เป็นที่นิยม ใช้ในหมู่ สถาปนิก ทั่ว ยุโรป ได้แก่ เยอรมัน สวิส สวีเดน ฝรั่งเศส ฮังการี ออสเตรีย โปแลนด์ ลามไปถึงรัสเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อเมริกา บางส่วน
ปัจจุบันนี้โปรแกรม ARCHICAD เป็น เวอร์ชัน 18 ที่มีความสามารถ แบบ all in one ทำได้ตั้งแต่ ออกแบบ 3 มิติ ทำแบบขออนุญาต ทำเรนเดอร์ แอนิเมชัน สรุป BOQ และ ฟังก์ขันอีกมากมาย
เวบไซต์ของ ผู้พัฒนา คือ www.graphisoft.com สามารถเข้าไปดูข้อมูล ต่าง ๆ ได้ เกี่ยวกับ โปรแกรม หรือ ผู้ใช้งาน ที่มีอยู่แล้ว เขาใช้กันอย่างไร ตลอดจน ดาวน์โหลด ไฟล์ เพื่อการเรียนรู้
ส่วนหากต้องการดาวน์โหลด โปรแกรม มาใช้งาน แบบศึกษา หรือ ทดลองใช้จริง 30 วัน สามารถ ดาวน์โหลดได้ที่ www.myarchicad.com แต่ต้องลงทะเบียน ให้ครบถ้วนถูกต้องครับ
ถ้าจะหา สื่อการเรียนรู้ มาดูเพิ่มเติม แนะนำ ให้ไปที่ youtube.com ตามลิงค์นี้เลยครับ
https://www.youtube.com/user/Archicad/videos
Thursday, January 1, 2015
ประวัติ Archicad
ARCHICAD เป็นซอฟต์แวร์สถาปัตยกรรม BIM สำหรับ Macintosh และ Windows ที่พัฒนาโดยบริษัท Graphisoft (http://www.graphisoft.com) ของฮังการี ARCHICAD นำเสนอโซลูชั่นที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบอาคาร ทั้งาน สถาปัตยกรรม และวิศวกรรม ตลอดกระบวนการออกแบบทั้งหมดของสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาคาร การตกแต่งภายใน พื้นที่ในเมือง ฯลฯ
การพัฒนา ARCHICAD เริ่มขึ้นในปี 1982 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ Apple Lisa ซึ่งเป็นรุ้นแรก ของ Apple Macintosh หลังจากเปิดตัวในปี 1987 ด้วยแนวคิด "Virtual Building" ของ Graphisoft ทำให้ ARCHICAD ถูกมองว่าเป็นการนำ BIM มาใช้เป็นครั้งแรก ARCHICAD ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ CAD เครื่องแรกในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถสร้างรูปทรงเรขาคณิตทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ BIM เชิงพาณิชย์ตัวแรกสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และถือเป็น "การปฏิวัติ" สำหรับความสามารถ เพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมากภายในโมเดล 3 มิติ ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 120,000 ราย
ARCHICAD เป็นซอฟต์แวร์เพื่อ การออกแบบอาคาร สำหรับสถาปนิก นักออกแบบ ที่สมบูรณ์พร้อม สามารถสร้างแบบ จำลองอาคาร 3 มิติ และการเขียนแบบ 2 มิติ รวมถึงการถอดปริมาณ
ARCHICAD สามารถตอบสนองความต้องการ ในด้านการออกแบบส่วนใหญ่ของสำนักงานสถาปัตยกรรม:
ความสามารถของ ARCHICAD
คำสั่งข่วยสร้างแบบจำลอง 3 มิติ — อินเทอร์เฟซ ที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษสำหรับสถาปนิกที่สามารถสร้างรูปแบบอาคารประเภทต่างๆ ได้ ง่าย ๆ
ถอดปริมาณ ได้รวดเร็ว และ ถูกต้อง เพื่อ การประมาณราคาที่แม่นยำ
สร้างภาพเสมือนจริง พร้อมการจัดสภาพแวดล้อม และแสงเงาที่ สมจริง
บันทึกไฟล์ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อ ส่งต่อให้ผู้ร่วมงานในโครงการ เช่น dwg, ifc, 3ds, skp, stl, pdf, xls etc.
ตรวจสอบหาจุดผิดพลาดในการออกแบบ ได้ด้วย การเช็คการซ้อนทับ ของตัวแบบ จำลอง (Clash Detection )